เพราะโรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่สร้างอินซูลินลดลง หรือไม่สร้างเลย ซึ่งอินซูลินจะทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินลดลง ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้เลือดมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น ซึ่งตามมาด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่มีทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน เช่น ตาบอด ไตวายเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาต เป็นต้น
โดยเบาหวานแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ประเภท คือ
1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย มักพบในคนอายุน้อย น้ำหนักน้อย
2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบมากที่สุด (ประมาณ 90 - 95%) มักเป็นจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน
3. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นต้น
4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต และอาจส่งผลกระทบต่อบุตรในครรภ์ได้
สิ่งสำคัญของผู้เป็นโรคเบาหวาน คือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหลัก ๆ ประกอบไปด้วย 3 วิธี คือ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานยา ข่าวดีคือ ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 สามารถสู้กับเบาหวานได้ผ่านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยอาจจะไม่ต้องพึ่งยาเลย โดยผู้ป่วยแต่ละประเภท ก็ต้องมีวิธีในการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายแตกต่างกันไป ดังนั้นการหาเทรนเนอร์ส่วนตัว หรือที่ปรึกษาด้านโภชนาการ ผ่านบริการของ B-Healthy ก็สามารถช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้สะดวกยิ่งขึ้น
เราก็มีเคล็ดลับโดยรวมแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานมาฝากกันค่ะ
การรับประทานอาหาร
- เลือกคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพอย่างธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต บัควีท ผลไม้ ผัก งดแป้งขัดขาวทุกชนิด
- กินเกลือน้อยลง ไม่เกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน เลี่ยงกินอาหารแปรรูปทุกชนิด ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เลือกโปรตีนที่ดี เลี่ยงเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป เช่น ปลา โดยเฉพาะแซลมอนและปลาแมคเคอเรล ไข่ไก่ เนื้อไก่ ถั่วต่าง ๆ
- เลือกทานไขมันดี ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น อะโวคาโด ปลาที่มีน้ำมัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เลี่ยงพวกเนยและเบเกอรี่
- เลี่ยงการเติมน้ำตาลเพิ่มในอาหารและเครื่องดื่ม อาจใช้สารให้ความหวานแทนได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีแคลลอรี่สูง หากจะดื่มให้ดื่มต่อครั้งในปริมาณน้อย และห้ามดื่มขณะท้องว่างเด็ดขาด
การออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ของร่างกายไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้นำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งควรทำต่อเนื่องวันละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ โดยกิจกรรมที่แนะนำ เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน เลี่ยงการออกกำลังระดับที่หนักเกินไป และควรอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย 5-10 นาทีทุกครั้งเพื่อให้ป้องกันไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บ
ทั้งนี้สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลก่อนออกกำลังกาย ถ้าน้ำตาลตก ควรทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มคั้น 180 มล. หรือกล้วยน้ำว้า 1 ผล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกาย และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังออกกำลังกายทุกครั้ง
ข้อระวัง: หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ แผลที่เท้า เบาหวานขึ้นตา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
B-Healthy คืออีกหนึ่งทางเลือก ที่จะยกระดับการบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยการรวมเอาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและทางการแพทย์มาไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นเทรนเนอร์ นักโภชนาการ หรือโค้ชสุขภาพ โดยคุณสามารถเลือกแพ็กเกจสุขภาพ ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งการรับบริการไม่จำกัดสถานที่ เรียกได้ว่าเหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัวที่ดูแลคุณตลอดเวลา
สำหรับใครที่สนใจจ้างเทรนเนอร์ โภชนาการ ให้มาวางแผนดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ติดต่อ B-Healthy เข้ามาสอบถามรายละเอียดได้เลย
แหล่งข้อมูล
https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/enjoy-food/eating-with-diabetes/10-ways-to-eat-well-with-diabetes
https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/the-importance-of-exercise-when-you-have-diabetes
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/May-2016/diabetes-risk-prevention-treatment
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/453
https://vibharam.com/detail.php?cat_id=1&know_id=62